Digital communication ทำไมถึงสำคัญต่อธุรกิจ
เคยสงสัยหรือไม่ว่าโฆษณาบนสื่อโซเชียลที่มักเห็นเมื่อเลื่อนดูฟีดกับอีเมลที่มักส่งมาแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมหรือโปรโมชั่นที่คุณสนใจนั้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เบื้องหลังกลยุทธ์ทางการตลาดนี้ทำงานในส่วนของการสื่อสารดิจิทัล (Didital Communication) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่องค์กรส่วนใหญ่ที่สำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งในช่วงนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการศึกษาและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการสื่อสารดิจิทัล เนื่องจากในปัจจุบันนี้ตลาดต้องการผู้ที่มีทักษะด้านสื่อดิจิทัลเป็นจำนวนมากและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลนั้นเป็นบทบาทที่ได้รับการว่าจ้างมากที่สุดในหมู่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดทั้งหมด
ช่องทางการสื่อสารดิจิทัลนั้นมีหลากหลายช่องทางและหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ การประชุมทางวิดิโอ สิ่งพิมพ์ดิจิทัล หรือ การส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที เช่น SMS แชท หรือแม้แต่บล็อกพอดแคสต์ และวิดิโอ ก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารดิจิทัลเช่นกัน
นอกจากนี้ การสื่อสารดิจิทัลนั้นยังเกี่ยวข้องกับการสื่อสารออนไลน์ขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้วิธีสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ การแชทบนมือถือ หรือการเขียนบทความผ่านบล็อก สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล และการส่งอีเมลข้อความเพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้า พนักงานและผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของธุรกิจ ซึ่งทุกวันนี้ในทุกหน่วยงานต่างๆนั้นก็ยังต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการส่งข้อความเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารดิจิทัลจะมีหน้าที่การรับผิดชอบในทุกด้านตั้งแต่การสร้างทรัพย์สิน แบรนด์ออนไลน์ ไปจนถึงการสร้างฐานผู้ชม ผู้ติดตามบนสื่อโซเชียลมีเดียและดึงดูดการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารดิจิทัลยังต้องคำนึงถึงวิธีการนำเสนอเครื่องมือใหม่ๆเหล่านี้อย่างถูกวิธี
ความแตกต่างระหว่างการสื่อสารดิจิทัลและการสื่อสารแบบดั้งเดิม มีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้
- พร้อมโต้ตอบมากขึ้น
- มีส่วนร่วมมากขึ้น
- คุ้มค่ามากขึ้น
- กระจายอำนาจมากขึ้น
- มีลำดับชั้นน้อยลง
โดยลักษณะเหล่านี้ ยังช่วยยืนยันว่าการสื่อสารใดๆ ที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นแตกต่างกับการสื่อสารแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของการทำงานในองค์กรและการสื่อสารการตลาด ซึ่งความแตกต่างนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
ข้อดีของการสื่อสารดิจิทัล
การสื่อสารดิจิทัลนั้นมีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็ว และสะดวกสบาย โดยการใช้ช่องทางที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมความคิดเห็นจากพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้พนักงานสามารถสนทนาแบบเรียลไทม์กับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งความเป็นจริง ในส่วนใหญ่นั้น วิธีการสื่อสารในตลาดสมัยใหม่นับว่าเป็นการสื่อสารดิจิทัลแทบทั้งหมด ซึ่งแคมเปญบนโซเชียลและโฆษณาวิดีโอเป็นเพียงวิธีการสำหรับบริษัทที่ใช้ในการสื่อสารมวลชนกับลูกค้าในกลุ่มที่เน้นความรวดเร็วและคุ้มค่า
แต่ถ้ามองไปยังกลุ่มธุรกิจต่างๆที่ใช้รูปแบบการสื่อสารแบบดิจิทัลนั้นต่างมีความมั่นใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ว่าจะช่วยปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของบริษัทได้มาก เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกในการเข้าถึงจะช่วยให้พนักงานมีเวลาจดจ่อกับงานที่สำคัญกว่าได้
ข้อเสียของการสื่อสารดิจิทัล
ในขณะที่โลกธุรกิจเริ่มมีการเปิดรับการสื่อสารแบบดิจิทัลนั้น ก็ยังพบข้อเสียเล็กน้อยที่เกิดขึ้นจากการใช้งานประการหนึ่งนั่นคือการที่ทำให้พนักงานสามารถสื่อสารดิจิทัลผ่านช่องทางต่างๆได้สะดวกนั้นอาจส่งผลให้พนักงานไม่สามารถตัดการเชื่อมต่อเมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันได้ อย่างเช่น การส่งอีเมล การแชท หรือการแจ้งเตือนจากโมบายแอปซึ่งติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ทั้งนี้ทำให้ส่งผลให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวของพนักงานเกิดความไม่ชัดเจน พนักงานอาจเกิดความรู้สึกเหนื่อยและรู้สึกว่างานที่ทำนั้นหนักโดยไม่มีโอกาสได้หยุดพัก
เมื่อมีการสื่อสารดิจิทัลนั้นเริ่มสร้างความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลในบริษัท เนื่องจากแฮกเกอร์อาจสามารถเข้าสู่การประชุมเสมือนจริงและแทรกแซงได้ อีกทั้งอาจมีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลภายในองค์กรอาจรั่วไหลทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลของบริษัทผ่านอินเทอร์เน็ตและอาจมีการใช้อีเมลปลอมเพื่อบุกรุกระบบออนไลน์ขององค์กร
ทั้งนี้ ในการสื่อสารดิจิทัลอาจเพิ่มความสะดวกในหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และอีกมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มคนเหล่านี้ยินดีหรือสะดวกที่จะสื่อสารธุรกิจตลอดเวลา ดังนั้นในการสื่อสารดิจิทัลอาจต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้