แอพดักค่าฝุ่น จะว่าไปในตอนนี้สิ่งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็มีอยู่รอบด้านไม่ใช่เพียงแค่คนอย่างเดียวเท่านั้น ล้วนแล้วแต่มาจากการลงโทษของธรรมชาติบ้าง หรืออาจจะมาจากผลลัพธ์ของการกระทำของมนุษย์ซะเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นผลกระทบร้ายแรง
ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบหัวชัดและทำให้บางคนนั้นรู้สึกถึงอันตรายแบบชัดเจน คงจะเป็นเรื่องของค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ก่อนหน้านี้เรามาเข้าใจว่าเวลาที่อากาศมัวอาจจะกลายเป็นช่วงอากาศที่หมอกลง แต่เมื่อวานตามอุณหภูมิดูดีๆแล้วกลับกลายเป็นอุณหภูมิปกติ แต่สิ่งที่เราเห็นมุมอยู่นั้นคือฝุ่นขนาดเล็ก และในตอนนี้ก็คงทราบกันดีว่าความร้ายแรงที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวช่วยเดียวที่ทำได้คือ Application ที่ใช้ในการเช็คค่า PM 2.5 แต่จะมีอันไหนบ้างก็ต้องมาดูกัน
1.AirVisual
สำหรับแอปแรกนี้ถือว่าเป็นหนึ่งใน Application หลักเลยทีเดียวที่นับว่าทุกคนแทบจะต้องมีติดเครื่องเอาไว้ เพราะด้วยรูปแบบการใช้งานค่อนข้างสะดวกมากทีเดียวและที่สำคัญยังมีการแจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้เรื่องของความโดดเด่นที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็นการประเมินค่าฝุ่นของพื้นที่ที่อยู่อาศัยเหล่านั้นถึงแม้ว่าจะเป็นระบบห่างไกลแค่ไหน ก็สามารถที่จะแจ้งผลของค่าฝุ่นได้ ที่สำคัญด้วย layout หรือแม้แต่กระทั่งการใช้สี ถือว่าเป็นหนึ่งในลูกเล่นที่ทำออกมาได้น่าสนใจมากทีเดียว
2.Plume Air Report
อีกหนึ่ง Application ที่สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ Android และ iOS ต้องบอกเลยว่าสำหรับแอปนี้ไม่ได้มีการจำกัดแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งแต่สามารถที่จะใช้ได้ทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะจุดเด่นเรื่องของการคำนวณค่ามลพิษต่างๆที่มีอยู่ภายในอากาศ เพื่อที่จะทำให้ระวังตัวได้ง่ายมากขึ้น แต่ทั้งนี้กลับไม่ได้เน้นไปเรื่องของการแจ้งแค่ค่ามลพิษ PM 2.5 เพียงอย่างเดียว เนื่องจากภายในตัวแอปยังมีฟีเจอร์อื่นๆในเนื้อเรื่องของการบอกสภาพอากาศรวมถึงข้อมูลที่มีการประมวลผลแบบ Real Time
3.Air4ASEAN
แต่ถ้าใครกลัวว่าการโหลด App ที่เพิ่งพูดถึงไปมาใช้ในเครื่อง แล้วกลัวว่าจะหนักเครื่องเพราะไม่ค่อยได้ใช้งานเยอะ เนื่องจากการเดินทางส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศแถบอาเซียน บอกเลยว่า Application นี้เด็กมากทีเดียวเพราะสามารถที่จะระบุค่าฝุ่นได้ทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียนโดยสามารถระบุครอบคลุมไปถึงแต่ละจังหวัดของแต่ละประเทศเลยทีเดียว ดังนั้นไม่ว่าจะปักหมุดไว้ตรงไหนก็รับรู้ได้ทันทีว่าข้าฝนในบริเวณนั้นมีขนาดเท่าไร
อย่างน้อยๆทั้ง 3 App นี้ถ้าหากว่าเลือกดูตามการใช้งาน ถ้าเน้นแบบง่ายๆเลยคือ Application แรกที่พูดถึงกับไปเพราะด้วยลูกเล่นที่น่าสนใจจากการใช้สีเพื่อบอกค่าฝุ่นที่ชัดเจนถึงความรุนแรง ก็สามารถที่จะอ่านค่าการใช้งานได้ชัดมากที่สุด
แต่สำหรับแอปพลิเคชันอื่นๆเองก็สามารถที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของคุณภาพได้เป็นอย่างดี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นหลัก